ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ห่างไกล “ผื่นผ้าอ้อม”

By: | Tags: | Comments: 0 | ตุลาคม 29th, 2018

ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ห่างไกล “ผื่นผ้าอ้อม”

                   ผื่น ผ้าอ้อมไม่ได้เกิดจากตัวผ้าอ้อมโดยตรงแต่เกิดเนื่องจากผลของการใช้ผ้าอ้อม เช่น ความร้อน อบ อับ เปียกชื้นเหงื่อที่ผิวหนังและปัสสาวะและอุจจาระที่ติดอยู่ที่ผ้าอ้อม และการดูแลผิวหนังบริเวณนั้นไม่ถูกต้องทำให้ผิวหนังเปียกชื้นและสัมผัสกับ ปัสสาวะและอุจจาระเป็นเวลานานจนเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดง เปื่อยเป็นแผลและอาจติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราซ้ำเติม

                   สาเหตุ
                   ปัญหา ผื่นผ้าอ้อมที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการเสียดสี ความเปียกชื้น หรือการติดเชื้อที่ผิวหนัง  ผื่นผ้าอ้อมถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งจะมักจะพบในทารกช่วงอายุ 4 ถึง 15 เดือน

                   ผื่นคันจากความเปียกชื้นหรือการเสียดสีของผ้าอ้อม

                   ลักษณะ : มักเกิดบริเวณผิวหนังส่วนที่เสียดสีกับผ้าอ้อมของทารก เช่น บริเวณอวัยวะเพศ ต้นขาและก้น อาจเป็นรอยบวมแดง

                   สาเหตุ : บางครั้งเพียงแค่การที่ผิวหนังเสียดสีกับผ้าอ้อมสัมผัสกับสารเคมีหรือน้ำหอม ในผ้าอ้อมสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์ซักผ้า ก็สามารถทำให้ผิวของทารกระคายเคืองและเกิดผื่นคันได้แล้วผื่นชนิดนี้เรียก ว่า ผื่นแพ้จากการสัมผัส (Contact Dermatitis) ซึ่งสาเหตุของผื่นผ้าอ้อมแบบนี้ที่พบได้บ่อยๆก็คือความเปียกชื้นนั่นเอง แม้คุณแม่จะเลือกผ้าอ้อมที่ซึมซับได้ดีที่สุดแต่เรื่องความอับชื้นนั้นก็ถือ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และยิ่งเมื่อแบคทีเรียจากอุจจาระผสมเข้ากับ ปัสสาวะของทารกด้วยแล้วก็อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่รุนแรงต่อผิวทารก ได้  ดังนั้นวิธีแก้ไขจึงต้องแนะนำให้คุณแม่คอยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยบ่อยๆ เพื่อลดการอับชื้น

                   ผื่น ผ้าอ้อมแบบนี้มีโอกาสเกิดซ้ำได้อีกสำหรับทารกที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย หรือถ้าเมื่อไหร่ที่ไม่สบาย และต้องกินยาปฏิชีวนะก็อาจเกิดผลข้างเคียงคือท้องเสีย ซึ่งทำให้ต้องถ่ายบ่อย และเกิดความอับชื้นได้ก็จะมีโอกาสเกิดผื่นผ้าอ้อมได้ง่ายเช่นกัน

                   วิธีป้องการเกิดผื่นผ้าอ้อม

                   วิธีป้องกันผื่นผ้าอ้อมที่ดีที่สุดคือการรักษาก้นของทารกให้แห้งอยู่เสมอ คุณแม่จึงควรหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยบ่อยๆ

  1. ทำความสะอาดอวัยวะเพศของลูกน้อยทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อมโดยใช้ผ้าแตะซับ ผิวของลูกเบา ๆ ให้แห้ง ระวังอย่าใช้ผ้าถู เพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง
  2. เมื่อลูกน้อยเริ่มกินอาหารแข็งๆ ได้บ้างแล้ว แนะนำให้คุณแม่ค่อย ๆ ให้ลูกหัดกินไปทีละอย่างรอสักสองสามวันค่อยให้ลูกน้อยกินอาหารชนิดใหม่วิธี นี้จะช่วยให้คุณแม่รู้ว่าผื่นผ้าอ้อมเป็นผลมาจากการแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ หรือไม่
  3. อย่าใส่ผ้าอ้อมให้แน่นจนเกินไปการสวมเสื้อผ้าและผ้าอ้อมให้ทารก ควรให้มีช่องว่างหลวม ๆพอที่จะให้อากาศระบายได้และควรหลีกเลี่ยงผ้าที่แนบติดตัว เช่น กางเกงผ้าพลาสติกแน่นๆ
  4. ไม่ควรซักผ้าอ้อมด้วยผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ผสมน้ำหอมและไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้า นุ่ม  เพราะทั้งสองอย่างนี้อาจทำให้ผิวของลูกน้อยระคายเคืองได้ควรใช้น้ำร้อนซักทำ ความสะอาดผ้าอ้อมแล้วล้างด้วยน้ำเปล่าสองครั้งหรือคุณแม่จะเติมน้ำส้มสายชู สักครึ่งถ้วยลง ในน้ำล้างน้ำแรกก็ได้เพื่อช่วยขจัดสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งก่อให้การระคาย เคือง
  5. ถ้าคุณแม่ใช้ผ้าอ้อมแบบสำเร็จรูปบางครั้งอาจต้องลอง เปลี่ยนยี่ห้อแล้ว คอยสังเกตว่า อาการผื่นคันของลูกน้อยดีขึ้นหรือไม่
  6. โดยปกติแล้วอุจจาระบวกกับปัสสาวะของทารกจะมีความเป็นด่างซึ่งทำให้ผิวระคาย เคืองและมี โอกาสเป็นผื่นผ้าอ้อมได้มากขึ้น แต่การให้ทารกกินนมแม่ให้นานที่สุดอาจช่วยได้เพราะว่านมแม่จะช่วยลดค่า PHในอุจจาระได้ ทำให้มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โดยทั่วไปแล้วการให้น้อง กินนมแม่ยังช่วยกระตุ้นให้เขามีภูมิคุ้มกันต้านทานการติดเชื้อทำให้ทารกมี โอกาสใช้ยาปฏิชีวนะน้อยลงซึ่งยาปฏิชีวนะนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูก น้อยเป็นผื่นผ้าอ้อมได้
  7. พยายามหยุดการใช้ผ้าอ้อมหรือใส่ผ้าอ้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้แม้จะ อยู่ในห้องแอร์และเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อยๆ(อย่างน้อยทุกๆ 2-3 ชั่วโมงหรือทุกครั้งที่ลูกถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ)เพื่อช่วยให้ผิวหนังของ ลูกได้สัมผัสอากาศมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผิวลูกจะได้แห้งไม่เปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้าลูกเป็นผื่นผ้าอ้อมจะต้องลดเวลาการใส่ผ้าอ้อมลงไปอีกเรื่อยๆ และดูแลผิวลูกให้ถูกต้องและดีขึ้นอีกจนกระทั่งลูกไม่มีปัญหาผื่นผ้าอ้อมอีก
  8. ควรใช้ผ้าอ้อมชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งที่มีเจลหรือผ้าใย(microfibercloth) ที่ช่วยดูดซึมความเปียกชื้นจากผิวหนังจะช่วยให้ผิวหนังแห้งและมีโอกาสเป็น ผื่นผ้าอ้อมน้อยลง
  9. เมื่อลูกปัสสาวะหรืออุจจาระควรถอดเปลี่ยนผ้าอ้อมแล้วทำความสะอาดผิวหนังส่วน ที่อยู่ในผ้าอ้อมเบาๆ ด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่ไร้ด่าง
  10. หลังทำความสะอาดผิวหนังบริเวณผ้าอ้อมของลูกควรเช็ดให้แห้ง ปล่อยให้ผิวหนังลูกสัมผัสกับอากาศก่อนแล้วจึงทาด้วยครีม   ที่มีส่วนประกอบของZincOxide   โดย  Zinc Oxide จะมีคุณสมบัติที่ช่วยในกระบวนการซ่อมแซมผิวที่อักเสบหรือระคายเคืองให้กลับ สู่สมดุล  นอกจากนี้อาจเลือกผลิตภัณฑ์ที่ภายในเนื้อครีมมี Benzyl Alcohol ที่จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียลดการระคายเคือง และทำให้ผิวสบายมากขึ้น และ  Lanolin (hypo-allergenic ) ที่จะช่วยให้ความชุ่มชื้น ลดการสูญเสียน้ำของผิวและลดการเสียดสี  นอกจากนี้เนื้อครีมที่เป็นสูตรผสมพิเศษของ Paraffin และ Wax จะทำเกิดเป็นฟิล์มบางๆที่จะช่วยป้องกันผิวไม่ให้เกิดการระคายเคืองจากการ สัมผัสกับปัสสาวะและอุจจาระ ทำให้ลดโอกาสการเกิดผื่นผ้าอ้อมของลูกน้อยได้อีกด้วย
  11. ไม่ควรทาแป้งบริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศของลูกเพราะแป้งจะจับกับเหงื่อที่ออก ในบริเวณนั้นกลายเป็นคราบหรือก้อนแป้งชื้นๆแฉะๆทำให้ผิวชื้นแฉะตลอดเวลา และสามารถเกิดอาการระคายเคืองและเป็นผื่นผ้าอ้อมง่ายขึ้น
  12. ควรพาลูกไปพบแพทย์หากดูแลรักษาตามวิธีข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือเมื่อสงสัยว่าลูกอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นตุ่มหนองหรือ เป็นผื่นเนื่องจากเชื้อรา